การวัดในชีวิตประจำวัน

วันพุธที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2553

คนเราทุกคนจะเกี่ยวข้องกับการวัดตลอดเวลา เช่น การวัดเวลา วัดอุณหภูมิ เป็นต้น


งานเก็บข้อมูลทางวิทยาศาสตร์

งานเก็บข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ต้องพิจารณา
(1) มาตรฐานของเครื่องวัด จะต้องมีมาตรฐานที่ยอมรับได้ทั่วไป
(2) เครื่องมือที่เหมาะสมกับสภาพงานที่จะวัด เช่น ในเตาเผาจานกระเบื้อง ซึ่งมีอุณหภูมิ
สูงมาก จะใช้เทอร์มอมิเตอร์ธรรมดาวัดไม่ได้ ต้องวัดด้วยไพโรมิเตอร์ (Pyrometer)


การแสดงผลของการวัด

(1) แสดงด้วยขีดสเกล เช่น โวลต์มิเตอร์ทั่วไป จะมีตัวเลขหลายชุดบนหน้าปัดเดียวกัน
ผู้วัดต้องเข้าใจในการเลือกใช้ตัวเลขแต่ละชุด (ซึ่งจะไม่เท่ากัน)
(2) แสดงด้วยตัวเลข เป็นแบบที่สะดวก และรวดเร็ว เพราะอ่านได้ง่ายกว่า

การอ่านผลจากเครื่องมือวัด

(1) ต้องอ่านให้ถึงค่าที่ละเอียดที่สุดที่อ่านได้จากสเกล เช่น การวัดความกว้างของหนังสือ
ด้วยไม้บรรทัดธรรมดา จะวัดได้ 8.5 เซนติเมตร
(2) ต้องอ่านส่วนที่ประมาณด้วยสายตาอีก 1 ตำแหน่ง เช่น ความกว้างของหนังสือในข้อ (1)
มีเศษเกินขีด 3 มิลลิเมตร ถึงประมาณกลางช่อง เราจะต้องอ่านค่าที่วัดได้เป็น 8.55
เซนติเมตร

นั่นคือ การบันทึกตัวเลข ต้องบันทึกถึงสเกลที่เล็กที่สุด
รวมกับตัวเลขที่ได้จากการประมาณ 1 ตัว (แม้ว่าจะเป็นศูนย์ก็ตาม)

เช่น เชือกยาว 1.00 ซม. ถ้าวัดด้วย ไม้บรรทัดธรรมดา
เชือกยาว 1.000 ซม. ถ้าวัดด้วย คาลิปเปอร์เวอร์เนียร์
เชือกยาว 1.0000 ซม. ถ้าวัดด้วย ไมโครมิเตอร์

การเลือกใช้เครื่องมือวัด

การเลือกใช้เครื่องมือวัด ต้องพิจารณาจากสิ่งที่จะวัด ซึ่งความละเอียดที่ต้องการจะไม่เท่ากัน

(1) งานธรรมดาทั่วไป จะวัดด้วยไม้บรรทัดธรรมดา โดยปกติจะมีความละเอียดถึง 1 มิลลิเมตร
(2) งานเจียระไน จะต้องวัดด้วยเวอร์เนียร์ ซึ่งต้องละเอียดถึง 0.1 มิลลเมิตร
(3) งานกลึงที่ละเอียด ต้องใช้ไมโครมิเตอร์ในการวัด ซึ่งจะวัดได้ละเอียดถึง 0.01 มิลลิเมตร

สิ่งที่มีผลต่อความถูกต้อง และความผิดพลาดในการวัด

(1) เครื่องมือที่ใช้วัดจะต้องได้มาตรฐาน และเที่ยงตรง จึงจะวัดได้ถูกต้อง
(2) วิธีการวัด จะต้องไม่มีผลที่จะไปรบกวนระบบเดิม คือ ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงปริมาณที่จะวัด
เช่น จะวัดกระแสไฟฟ้าในวงจร ต้องใช้แอมมิเตอร์ที่มีความต้านทานต่ำ (เพราะแอมมิเตอร์ที่มี
ความต้านทานสูง จะไปเพิ่มความต้านทานในวงจร ทำให้กระแสไฟฟ้าลดลง ซึ่งไม่ตรงกับ
กระแสไฟฟ้าที่ต้องการจะวัด)
(3) ผู้วัด ต้องเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือ และวิธีการวัด เช่น การวัดความดันโลหิต จะวัดได้
ค่อนข้างยากและเครื่องมือแต่ละชนิด จะมีการวัดที่แตกต่างกันออกไป นอกจากนั้นในการ
ทำการวัดจะต้องมีความรอบคอบ และร่างกายมีสภาพพร้อม จึงจะได้ผลดี
(4) สภาพแวดล้อมขระทำการวัด เช่น การทดลองวัดความสว่างของหลอดไฟ จะต้องไม่มี
แสงสว่างจากแหล่งอื่นมาเกี่ยวข้อง เพราะจะทำให้เกิดความผิดพลาดได้


0 ความคิดเห็น: